ยินดีต้อนรับ สู่เว็บบล็อกเพื่อเผยแพร่ผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอสิ่งที่ได้พบได้อ่านและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนวิชาชีพเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทคัดย่อ : รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ

ชื่อเรื่อง  :  รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษาค้นคว้า :  นางนฤมล ดีนาน

โรงเรียน  :  บ้านพันษี

ปีที่พิมพ์ : 2559

บทคัดย่อ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้
ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพันษี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพันษี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง
ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพันษี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพันษี ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านพันษี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ทำการเลือก โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
จากนักเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน โดยได้เลือกนักเรียน รวม 13 คน มาเป็นกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที (t – test) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

1. ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด และชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 83.54/82.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6263 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.63

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพันษี สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.33 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเหมาะสม สำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

PUNSRI MODEL "คณะครูร่วมยินดีรับเกียรติบัตรผลO-NET 2555 ก้าวหน้าเป็นอันดับ1ของสพป.สร1"

บทสรุปหลักการของโรงเรียนบ้านพันษี นักเรียนต้องมาก่อน

 ภาพแห่งความสำเร็จคณะครูร่วมรับเกียรติบัตรประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕โรงเรียนมีผลพัฒนาในการประเมิน o-net สูงสูดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1
กิจกรรมส่งเสริมที่สำคัญได้แก่ การสร้างกำลังใจแก่เด็ก สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าในตัวเอง ให้โอกาสผู้เรียน ครูต้องเป็นแบบเป็นเพื่อนคิดของนักเรียนได้ มองข้ามความผิดพลาด ลืมปมด้อยสร้างจุดเด่น ไม่ตอกย้ำซ้ำเติม ประคับประคองและส่งเสริม ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคนต้องเท่าเทียมกัน ทำให้นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะผู้เรียนตามกำหนด



รูปแบบการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
PANSRI MODEL โรงเรียนบ้านพันษี
ภาคเรียนที่ ๒ / ๒๕๕๕
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1. ชื่อรูปแบบ พันษีโมเดล (PUNSRI MODEL)
๒.  แนวคิดและที่มา
จากผลการประเมินภายนอกรอบที่ ๓ จากสำนักรับรองมาตรฐานและและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ปี  ๒๕๕๕ ไม่รับรองมาตรฐานในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เนื่องจากผลการประเมินคุณภาพนักเรียนด้วยแบบทดสอบระดับชาติ (ป.3, ป.6, ม.3 ) ไม่ได้ระดับตามเกณฑ์มาตรฐานจึงนับเป็นนโยบายสำคัญของโรงเรียนบ้านพันษีเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
๓. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
๒. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน  ตัวชี้วัดชั้นปี
๓. เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนด้านการอ่าน  การเขียนและการคิดวิเคราะห์
๔. เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

๔. ขั้นตอนและกระบวนการ PANSRI MODEL โรงเรียนบ้านพันษึได้ดำเนินการหาแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
๑. Process กระบวนการพัฒนาครู บุคลากรให้มีความรู้ ปรับปรุงหลักสูตร และสร้างความตระหนักแกนักเรียน โรงเรียน   
๒.   Action การปฏิบัติตามหลักยุทธศาสตร์ 3 ด้าน สร้างความร่วมมือครู ผู้ปกครอง นักเรียน 
๓. Network - Student สร้างเครือข่ายนักเรียนที่มีภาวะผู้นำแต่ละสาระ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ครูช่วยครู ผู้ปกครองช่วยครู
๔. Supervising การนิเทศติดตามกำกับโดย ผู้บริหารและคณะครู
๕. Reflection การสะท้อนผล เป็นการประเมินหรือตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา ผลที่เกิดสู่ครู นักเรียน และผู้ปกครองให้รับทราบ
๖. Information จัดทำข้อมูลสารสนเทศ (เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นสารสนเทศสำหรับในการประเมิน  ปรับปรุงและพัฒนานักเรียนในระดับต่อไป)

๕. นวัตกรรม/สื่อ
๑. แผนการจัดการเรียนการสอน
๒. แบบทดสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัด  แบบประเมินด้านการอ่าน  การเขียนและการคิดวิเคราะห์
และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
๓. สื่อ ICT
๔. ห้องสมุด  แหล่งเรียนรู้

๖. ระยะเวลา/ปฏิทิน/กำหนดการ
1   -    พ.ย.   ๕๕      วิเคราะห์ข้อมูล
  -    พ.ย.   ๕๕      ประชุมผู้เกี่ยวข้องในการยกระดับผลสัมฤทธิ์
  พ.ย. ๕๕   -  31  ม.ค.  ๕๖    ติดตามกระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทุกสาระตาม PUNSRI  MODEL       
   -     ม.ค.  ๕๖         ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบpre-0net  วิเคราะห์ข้อมูล
     -   ๓๑  ม.ค.  ๕๖      ประเมิน  แก้ไข  พัฒนา  ปรับปรุง  เสริมแรง
    -     ก.พ.   ๕๖                 ทดสอบ  0-net
๑๕   -   ๒๐  มี.ค.  ๕๖       ประชาสัมพันธ์ผลการทดสอบ
๒๐    -   ๒๕   มี.ค.  ๕๖     จัดกิจกรรมพันษีนิทรรศน์ (ผลการเรียนรู้สุ่ชุมชน)

๗. ผู้รับผิดชอบ
          ๑. ผู้บริหาร   (สิบโทบุญโสม  ดีเลิศ  ผอ./ นายธนากร  จิตรเอก  รองผอ.)
          ๒. หัวหน้าวิชาการ  (นางนฤมล  ดีนาน)
          ๓. ครูประจำกลุ่มสาระ (ครูทุกคน)

 ๘. เครื่องมือที่ใช้
          ๑. แบบนิเทศติดตาม
          ๒. แบบทดสอบตามตัวชี้วัด
          ๓. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน
          ๔. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 ๙. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน/ครูผู้สอน/บุคลากรอื่น/ผู้ปกครอง
          ๑. ผู้บริหารเป็นผู้นิเทศติดตาม
          ๒. ครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการตามรูปแบบที่กำหนด
          ๓. คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน


๑๐. กิจกรรมหลักที่จะดำเนินการ
          ๑. วิเคราะห์ข้อมูลผลการสอน ผลการสอบ ปัญหาที่พบ
          ๒. สร้างเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน แผนการสอน หาคุณภาพของเครื่องมือ
          ๓. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม PUNSRI MODEL
          ๔. นิเทศติดตามประเมินผล
          ๕. วิเคราะห์ สรุปผล ปรับปรุงการดำเนินงาน

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์

ชื่อเรื่อง : การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย : นางนฤมล ดีนาน
ปีที่ทำ : 2548-2549

โครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม เป็นนโยบายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยมุ่งพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ : การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม เตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาและการแข่งขันของประเทศ
โรงเรียนบ้านโคกลำดวน เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบัน มีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา จัดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้นำนโยบายดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประสบปัญหาที่นักเรียนไม่สนใจการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งจากการวิเคราะห์ผู้เรียนแล้วพบว่าสาเหตุที่นักเรียนขาดความสนใจนั้นเนื่องมาจากพื้นฐานทางการเรียนต่ำ นักเรียนมีความสนใจในภาคปฏิบัติมากแต่ไม่สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ ดังนั้นครูจึงต้องจัดการเรียนการสอนโดยการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย จึงได้นำรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์มาทดลองใช้ในกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นกลุ่มทดลองขนาดเล็ก เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน วิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนสามารถใช้ความรู้ความสามารถที่มีในการศึกษา แก้ปัญหา สรุปรวบรวมองค์ความรู้ตามกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ได้ ทำให้เกิดผลงานที่นักเรียนสร้างสรรค์ขึ้น อาทิเช่น การผลิตของใช้ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนมีความภาคภูมิใจ

ความมุ่งหมายของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียน บ้านโคกลำดวน ตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2548 และ 2549 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนประมาณ 152 คน
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านโคกลำดวน ตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1 กลุ่ม จำนวนนักเรียน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษากระทำในปีการศึกษา 2548 ถึงปีการศึกษา 2549 โดยผู้ศึกษาและทีมงานเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 2 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2
2. แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ โดยแบบประเมินดังกล่าวมีรายการประเมินที่เป็น Rating Scale 5 ระดับ ซึ่งจะครอบคลุมเกี่ยวกับความเหมาะสมทางด้านเนื้อหา ความเหมาะสมทางด้านสื่อ ความเหมาะสมทางด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และความเหมาะสมทางด้านการวัดและการประเมิน
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ

4. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนที่เป็น Rating Scale 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการสร้าง ตามขั้นตอน ดังนี้
1.1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ช่วงชั้นที่ 3 เพื่อให้ทราบหลักการ เป้าหมาย เจตนารมณ์ของหลักสูตร จุดประสงค์ของหลักสูตร (กระทรวงศึกษาธิการ : 2545 )
1.2. ศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้ทราบขอบเขตเนื้อหา
1.3. วิเคราะห์เนื้อหาสาระ
1.4. ศึกษา วิธีเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ได้แนวทางจาก หลักการสอน (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2540 : 197-220) จากการเขียนแผนการเรียนรู้ (รุจิร์ ภู่สาระ. 2545 : 128-169) และศึกษาวิธีสร้างสื่อประกอบการเรียน จากเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน (สมบูรณ์ สงวนญาติ. 2534)
1.5. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน เวลา 16 ชั่วโมง
1.6. จัดพิมพ์แผนการจัดการเรียนรู้
1.7. นำแผนการจัดการเรียนรู้ เสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตรวจสอบ ความถูกต้องของสาระ จุดประสงค์ กิจกรรม ชุดการเรียนรู้ การวัด การประเมินผล
1.8. นำแผนการจัดการเรียนรู้ มาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงในการศึกษาโดยการนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแล้ว ไปทดลองสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านโคกลำดวน ตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 12 คน
2. การสร้างแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการสร้าง ดังนี้
2.1 ศึกษาหลักการ วิธีการสร้างแบบประเมินจากหนังสือ การศึกษาเบื้องต้น ของ บุญชม ศรีสะอาด. (2545 : 72-101) และศึกษารูปแบบของแบบประเมินแผนการสอนของ วิรัตน์ ปักการะนา (2544), วิราภรณ์ เมืองซอง (2545)
2.2 จัดสร้างแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ครอบคลุมองค์ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ทุกด้าน ได้แก่
2.2.1 สาระสำคัญ
2.2.2 เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2.3 เนื้อหาสาระการเรียนรู้
2.2.4 กิจกรรมการเรียนการสอน
2.2.5 สื่อประกอบการเรียนรู้
2.2.6 การวัดและประเมินผล การเรียนรู้
2.2.7 ความสอดคล้องกัน จากข้อ 3.2.1-3.2.6

โดยมีรายการประเมินที่เป็น Rating Scale โดยแบ่งระดับ ความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ คือ
เหมาะสมมากที่สุด ให้ 5 คะแนน
เหมาะสมมาก ให้ 4 คะแนน
เหมาะสมปานกลาง ให้ 3 คะแนน
เหมาะสมน้อย ให้ 2 คะแนน
เหมาะสมน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
เมื่อนำไปใช้เกณฑ์ในการให้ระดับคะแนนในแต่ละข้อโดยการหาค่าเฉลี่ย โดยมีเกณฑ์ดังนี้คือ ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 4.51 – 5.00 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 3.51 – 4.50 หมายถึง เหมาะสมมาก
ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 2.51 – 3.50 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง
ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 1.51 – 5.00 หมายถึง ควรปรับปรุงแก้ไข
ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 1.00 – 1.51 หมายถึง ไม่เหมาะสม
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดระดับในการยอมรับความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละด้านจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และจากครูผู้สอนค่าเฉลี่ยจะต้องอยู่ในระดับเหมาะสมมาก คือ 3.51 ขึ้นไป นำแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม และปรับปรุงแก้ไข
2.1 นำคะแนนที่ได้จากแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ย และนำค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับความเหมาะสมที่ตั้งไว้เพื่อปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้ต่อไป

3. การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนสอนแบบโครงงาน มีขั้นตอนดังนี้
3.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
3.2 สร้างแบบสอบถามจำนวน 20 ให้คลอบคลุมด้าน สาระการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล
3.3 เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของข้อคำถาม ปรับปรุงแก้ไขตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

วิธีดำเนินการศึกษา
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 2 ปีการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2548 - 2549 รายละเอียดการศึกษาดังนี้
1. การดำเนินการสอน มีขั้นตอนดังนี้
1.1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และสร้างความพร้อม
ในการเรียน
1.2. ขั้นประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรม
การเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้
1.3. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการสรุปความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องนั้น ๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินแผนการจัดการเรียนรู้จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
2. หาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าร้อยละ จากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 104)
1.2 ค่าเฉลี่ย จากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 105)


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการให้นักเรียนตอบแบบสอบถามหลังการเรียนด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 อยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง

การศึกษาในระยะที่ 1 นี้ ผู้ศึกษา ได้ทำการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นข้อมูลในพัฒนานวัตกรรมต่อไป
สรุปผลการวิจัย
การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปรากฏผลดังนี้
ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 อยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง
อภิปรายผล
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สรุปผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้โครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 อยู่ในระดับ มากที่สุด จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความสนใจและพอใจ ในการเรียนด้วยโครงงาน เนื่องจากแผนการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่สร้างขึ้นนี้เนื้อหามีความเหมาะสม นักเรียนเห็นว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ กิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด ในระหว่างเรียนนั้นนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ทั้งระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันมากขึ้น และกับครู ทำให้มีความกระตือรือร้นที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนมากขึ้น ครูประเมินผลทุกระยะในกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีทั้งการประเมินนักเรียนด้วยการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม ครูมีการชมเชยเมื่อนักเรียนมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานนี้ นักเรียนมีความสุขเมื่อได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ความต้องการ หรือแรงจูงใจนักเรียนจึงมีความพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับนิยามของ มนตรี เฉียบแหลม (2536 : 7) กล่าวถึงความพึงพอใจหมายถึง ความรู้สึกมีความสุขเมื่อเราได้รับผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย (Goals) ความต้องการ (Wants) หรือแรงจูงใจ (Motivation) และ งานวิจัยของ สุมาลี โชติชุ่ม (2544 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนโดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมเชาวน์อารมณ์กับการสอนตามคู่มือครู ผลการศึกษาสรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมเชาวน์อารมณ์ กับการสอนตามคู่มือครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แตกต่างกัน
จากการศึกษาค้นคว้า ทำให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่ครูผู้สอนสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงให้สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้ตามความมุ่งหมายการจัดการศึกษา

ข้อสังเกตและข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
1. ในแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 นี้ ได้มุ่งเน้นวิธีเรียนวิธีสอนที่ยกเอาเป้าหมายหรือปัญหาเป็นตัวตั้ง ผู้สอนช่วยกระตุ้นหรือชี้แนะ ให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต รู้จักแก้ปัญหา ให้บรรลุผลตามที่มุ่งหมาย อันจะเป็นการฝึก การคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติมากที่สุด มีการใช้กิจกรรมการอภิปรายกลุ่มย่อย การใช้กระบวนการกลุ่ม สื่อประกอบการเรียนรู้ที่หลากหลาย การจัด กิจกรรมให้นักเรียนได้ตรวจสอบความรู้ ความคิดของตนเองและได้ทราบผลทันที ช่วยเสริมแรงและจูงใจให้นักเรียนต้องการปรับปรุงตนเอง หรือปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น (กรมวิชาการ 2535 : 6-23)
2. ผลจากการจัดการเรียนการสอนโครงงานเมื่อสิ้นสุดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ได้ทำการประเมินผลระยะที่ 1 โดยให้นักเรียนเลือกเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์พบว่ามีโครงงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนจนสามารถส่งเข้าแข่งขันทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จัดขึ้น ในนามโรงเรียนจำนวน 2 โครงงานได้แก่โครงงานวิทยาศาสตร์ทั่วไป เรื่อง เปรียบเทียบการทำยาหม่องระหว่างการใช้น้ำมันไพลกับน้ำมันมะกอก และโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์ เรื่อง ไม้ปัดฝุ่นจากป่านศรนารายณ์ และได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของ CEO ศีขรภูมิ 2 เข้าแข่งขัน ณ โรงเรียนสุรินทร์ราชมงคล ปรากฏว่าได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ทั่วไป เรื่อง เปรียบเทียบการทำยาหม่องระหว่างการใช้น้ำมันไพลกับน้ำมันมะกอก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป
1.1 การสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานให้ได้ผลดี ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา จึงจะส่งผลให้การสอนมีประโยชน์มากที่สุด
1.2 ในเนื้อหาที่ใหม่และหรือมีความยากควรมีการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น ผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ควรนำสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะในด้านวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้าสร้างนวัตกรรม และเผยแพร่ให้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษาต่อไป